วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การปฏิบัติกัมมัฏฐานเบื้องต้น

วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น

การเดินจงกรม
ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า ยืนหนอช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง
แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คำว่า ยืนจิตวาดมโนภาพร่างกาย จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า หนอจากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดคำว่า ยืนจากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า หนอจากสะดือขึ้นไปปลายผม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย
เสร็จแล้ว ลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...กำหนดในใจ คำว่า ขวาต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน ย่างต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้า ยังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอเท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...คงปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับ ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...
ระยะก้าวในการเดิน ห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัว ขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด ยืนหนอช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ทำความรู้สึกโดยจิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อม แล้วกำหนด ยืนหนอ๕ ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา ยืนหนอ๕ ครั้ง แล้วหลับตา ตั้งตรง ๆ เอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม เอาสติตาม ดังนี้ ยืน.....” (ถึงสะดือ) หนอ.....” (ถึงปลายเท้า) หลับตาอย่าลืมตา นึกมโนภาพ เอาจิตมอง ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา ยืน……” (จากปลายเท้าถึงสะดือ หยุด) แล้วก็ หนอ…….” ถึงปลายผม คนละครึ่ง พอทำได้แล้ว ภาวนา ยืน….หนอ....จากปลายผม ถึงปลายเท้าได้ทันที ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้วคล่องแคล่วว่องไว ถูกต้องเป็นธรรม
ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอก กาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...กำหนดในใจ
คำว่า ขวาต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม
คำว่า ย่างก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น
คำว่า หนอเท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด
เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...แล้วตามด้วยเท้า ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...จะประกบกันพอดี
แล้วกำหนดว่า หยุด... หนอ...จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด ยืน... หนอ...ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ๔ ครั้ง คำว่า กลับหนอ
  • ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา
  • ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา
  • ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑
  • ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒
หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียด ขึ้น โดยการหมุนตัวจาก ๙๐ องศา เป็น ๔๕ องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด ๘ ครั้ง เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด ยืน... หนอ...ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการการนั่ง

กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลง เมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด ยืน... หนอ...อีก ๕ ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆ ๆ ๆ ๆช้า ๆ จนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อย ๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆ ๆ ๆ” “เท้าพื้นหนอ ๆ ๆ” “คุกเข่าหนอ ๆ ๆ” “นั่งหนอ ๆ ๆเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น